วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์






















สารบัญ

แม่น้ำ 1

ทรัพยากรน้ำ 2

แหล่งน้ำใต้ผิวดิน 3

น้ำป่า 4

แหล่งน้ำตามธรรมชาติ 5-13




































แม่น้ำ เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น
น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (delta) หรือชะวากทะเล (estuary)


















ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า “สิทธิการใช้น้ำ” (Water rights)



































แหล่งน้ำใต้ผิวดิน
แหล่งน้ำธรรมชาติอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งให้น้ำสำหรับทำการชลประทานได้ คือ แหล่งน้ำใต้ผิวดิน ในท้องที่ซึ่งไม่มีแหล่งน้ำบนผิวดินนั้น มนุษย์รู้จักการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ผิวดินขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ สำหรับการอุปโภค บริโภค และสำหรับใช้เพาะปลูกมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
น้ำที่มีอยู่ใต้ผิวดิน คือ น้ำที่ได้มาจากน้ำฝนที่ตก แล้วซึมผ่านลงไปสะสมอยู่ในช่องว่างของดิน ทราย และกรวด ตลอดจนรอยแตกและโพรงของหินที่อยู่ใต้ผิวดินนั้น เมื่อขุดบ่อลงไปจนถึงชั้นที่มีน้ำสะสมอยู่ เช่น ชั้นทราย และกรวด ซึ่งน้ำไหลผ่านได้ดี เวลาใดที่นำน้ำขึ้นไปใช้ทำให้น้ำในบ่อลดลง ก็จะมีน้ำไหลเข้ามาแทนที่อยู่เสมอ บ่อน้ำที่ใช้สำหรับการชลประทานจะมีขนาดที่เหมาะสมอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของชั้นทราย หรือชั้นกรวดที่เป็นแหล่งสะสมน้ำ และปริมาณน้ำที่ต้องการใช้เป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วบ่อน้ำใต้ดินแห่งหนึ่ง ๆ จะช่วยพื้นที่เพาะปลูกได้จำนวนไม่มากนัก
แหล่งน้ำที่สะสมอยู่ใต้ดินที่สำคัญมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. แหล่งน้ำที่ขังอยู่ในช่องว่างของดิน โดยมีผิวน้ำใต้ดินสัมผัสกับบรรยากาศ แหล่งน้ำใต้ผิวดินประเภทนี้มักเป็นน้ำขังอยู่ในดินชั้นแรก ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำบนผิวดินซึมลงไปสะสมอยู่เต็มในช่องว่างของดิน ทราย และกรวดโดยตรง จำนวนน้ำในชั้นดินดังกล่าว สามารถไหลถ่ายเทได้อย่างอิสระเมื่อชั้นผิวน้ำใต้ดินนั้นมีความลาดเอียง บ่อน้ำตื้นสำหรับใช้อุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งนี้
2. แหล่งน้ำบาดาล เป็นแหล่งน้ำในชั้นทรายและกรวด ในช่องว่างหรือรอยแตกแยกของหิน ซึ่งอยู่ภายใต้ชั้นดินปิดทับด้านบน แหล่งน้ำบาดาลเกิดจากน้ำบนผิวดิน ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ฯลฯ ไหลซึมผ่านชั้นดินลงไปเก็บกักอยู่ในชั้นทราย กรวด หรือรอยแตกของหินดังกล่าว น้ำในแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะถูกสะสมอยู่ภายใต้แรงดัน ซึ่งน้ำในบ่อที่เจาะส่วนใหญ่จะมีระดับสูงขึ้นมาใกล้กับผิวดิน หรือบางแห่งอาจล้นปากบ่อขึ้นมาเองก็ได้
การเจาะบ่อเพื่อนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภค และเพื่ออุตสาหกรรม ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร และบริเวณใกล้เคียง แต่สำหรับเพื่อการเพาะปลูกแล้ว ถ้าชั้นน้ำบาดาลอยู่ลึกจากผิวดินไม่มาก ราษฎรมักนิยมเจาะบ่อน้ำบาดาลระดับตื้นประเภทบ่อตอก โดยใช้ท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 2 – 4 นิ้ว เจาะลงไปจนถึงชั้นทรายและกรวด เช่น ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน และในบริเวณพื้นที่ราบภาคกลางตอนบน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร สุโขทัย และพิษณุโลก เป็นต้น







น้ำป่า หรือ น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) คือน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
สาเหตุของน้ำป่าเกิดจากการอิ่มตัวของผืนดินจากฝนที่ตกมากเกิดขีดความสามารถในการดูดซับน้ำ ทำให้ปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งหมดไหลไปตามผิวพื้นดินจากที่เคยถูกซึมซับไว้ได้ น้ำจะรวมตัวไหลสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ในระหว่างทางก็จะมีน้ำป่าส่วนอื่นเพิ่มปริมาณสมทบทลักลงไปตามร่องน้ำอย่างรวดเร็ว ยิ่งชันและมีพื้นที่รับน้ำมาก ก็ยิ่งมีความเร็วและพลังที่รุนแรงมากขึ้น ผลที่ตามมาคือการเพิ่มระดับน้ำตามทางน้ำอย่างรวดเร็วนับเป็นวินาทีจนอพยพหนีไม่ทัน น้ำป่าอาจเกิดได้จากเหตุอื่น เช่นการอุดขวางทางน้ำโดยก้อนน้ำแข็งในประเทศเขตหนาว หรืออาจเกิดจากการแตกร้าวพังทลายของเขื่อนกั้นน้ำดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศต่างๆ



































ความสำคัญของน้ำ
น้ำเป็นสารประกอบที่พบมากถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพน้ำเค็มในทะเลและมหาสมุทรประมาณ 97 เปอร์เซ็นต์ เป็นน้ำแข็งตามขั้วโลกประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ และเป็นน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ถ้าโลกเราปราศจากน้ำสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เลย
ความสำคัญของน้ำต่อมนุษย์
ความสำคัญของน้ำต่อมนุษย์ มีดังนี้
1. เป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดในร่างกาย มีอยู่ 2 ใน 3 ของน้ำหนักตัว โดยส่วนประกอบของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำเหลือง ตับ ไต เนื้อ
2. ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
3. เป็นสารที่ช่วยให้กรพะบวนการทางเคมีในร่างกายดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การย่อยอาหาร ทั้งประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ได้อาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลงที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้
4. ช่วยในการลำเลียงสารต่างๆ ในร่างกาย เช่น การลำเลียงอาหาร การไหลเวียนของเลือด และยังช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ เหงื่อ
โดยปกติในวันหนึ่งๆ ร่างกายจะเสียน้ำไปโดยเฉลี่ยประมาณ 2.7 – 3.2 ลิตร ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องหาน้ำมาทดแทนให้กับน้ำที่ร่างกายเสียไป โดยการดื่มน้ำโดยตรงหรือรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบอาหารแต่ละประเภทจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยอาหารประเภทผักและผลไม้จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากกว่าประเภทอื่นๆ
5. นอกจากน้ำจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเราโดยตรงแล้วยังมีประโยชน์ต่อเราในด้านต่างๆ อีก เช่น
5.1 ใช้ในด้านอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยถูกใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต เป็นตัวระบายความร้อนจากเครื่องจักรต่างๆ ตลอดจนใช้เป็นตัวทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย
5.2 ใช้เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ
5.3 ใช้ในการเกษตรกรรมทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
5.4 ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทั้งภายในปะเทศและระหว่างประเทศ
5.5 ใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่เล่นกีฬาทางน้ำ
5.6 ใช้ปรุงอาหาร ทำความสะอาด และซักผ้า
ความสำคัญของน้ำต่อพืช
ความสำคัญของน้ำต่อพืช มีดังนี้
1. น้ำเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงของพืช
2. น้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการงอกของเมล็ดพืช เพราะน้ำจะช่วยทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม ต้นอ่อนสามารถแทงรากงอกออกมาจากเมล็ดได้ง่าย
3. น้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารและเกลือแร่ต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน เพื่อช่วยให้รากดูดซึมและลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ
4. ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำก็จะทำให้เซลล์ยืดตัวไม่เต็มที่ต้นจะแคระแกร็น และถ้าขาดน้ำหนักมากๆ พืชจะเหี่ยวและเฉาตายไปในที่สุด
5. เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช โดยพืชบกจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60 – 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพืชน้ำจะมีน้ำอยู่ประมาณ 95 – 99 เปอร์เซ็นต์






แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำ คือ ส่วนของเปลือกโลกบริเวณที่มีน้ำสะสมหรือปกคลุมอยู่ โดยเราสามารถจำแนกแหล่งน้ำเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น





อ่างเก็บน้ำ
เขื่อน
ฝาย
ทะเล มหาสมุทร น้ำในดิน บ่อน้ำ
ทะเลสาบ น้ำบาดาล บ่อน้ำในดิน
แม่น้ำ ลำคลอง บ่อน้ำบาดาล
หนอง บึง
น้ำตก

แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หมายถึง แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของธรรมชาติ นักธรณีวิทยาแบ่งออกเป็น น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำในอากาศ
1. น้ำบนดินหรือน้ำผิวดิน เป็นแหล่งน้ำที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก คือมีถึง 99.3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำทั้งหมดได้แก่ น้ำในทะเล มหาสมุทร ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง โดยทั่วไปน้ำผิวดินมักไม่ค่อยสะอาดเนื่องจากมีสารหลายชนิดรวมตัวอยู่กับน้ำ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะสารแขวนลอยทำให้น้ำมีลักษณะขุ่น เป็นตะกอน
2. น้ำใต้ดิน เป็นแหล่งน้ำที่อยู่ใต้ผิวดิน มีอยู่ประมาณ 0.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดจากน้ำบนผิวดินไหลซึมผ่านชั้นดินลงไปกักเก็บอยู่ใต้ผิวดิน ส่วนน้ำในแหล่งน้ำนี้มักจะใสเพราะสารแขวนลอยต่างๆ จะถูกชั้นดินและหินช่วยกรองเอาไว้คงเหลือแต่สารที่ละลายน้ำได้ น้ำใต้ดินแบ่งออกเป็น
2.1 น้ำในดิน เป็นน้ำที่อยู่ใต้ผิวดินเหนือชั้นหิน ซึ่งน้ำส่วนใหญ่ซึมผ่านได้ยาก น้ำจะขังอยู่รวมกันอยู่ในบริเวณนั้น เราเรียกระดับน้ำตอนบนสุดของน้ำในดินที่ว่านี้ ระดับน้ำในดิน ซึ่งระดับน้ำดังกล่าวในพื้นที่แต่ละแห่งจะไม่เท่ากันและไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและสภาพภูมิประเทศบริเวณนั้น
2.2 น้ำบาดาล เป็นน้ำใต้ดินทที่ซึมผ่านชั้นหินที่มีรูพรุนลงไปขังอยู่ในช่องว่าของชั้นหิน อยู่ลึกกว่าน้ำในดิน มีความใสมากกว่าน้ำในดิน ไม่มีอินทรีย์สารเจือปน แต่มีแร่ธาตุต่างๆ ละลายปนอยู่มาก ระดับบนสุดของน้ำบาดาลเรียกว่า ระดับน้ำบาดาล ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลหรือตามปริมาณการเพิ่มและการสูญเสียน้ำ การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบาดาลจะเปลี่ยนไปช้ากว่าระดับน้ำในดิน


แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
มนุษย์สร้างแหล่งน้ำขึ้นมาก็เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน เช่น ผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำกินน้ำใช้ ทำการเกษตร ป้องกันอุทกภัย แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่
1. บ่อน้ำ เป็นการขุดพื้นดินลงไปเพื่อนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ถ้าเป็นบ่อที่ขุดเพื่อนำน้ำดินมาใช้เรียกว่า บ่อน้ำในดิน แต่ถ้าเจาะลึกลงไปถึงชั้นของน้ำบาดาล เรียกว่า บ่อบาดาล สำหรับการนำน้ำบาดาลมาใช้มากเกินไปจะทำให้แผ่นดินบริเวณนั้นทรุดตัวลงได้ในบริเวณกว้าง เช่น ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
2. อ่างเก็บน้ำเป็นแหล่งเก็บกักน้ำขนาดเล็กเกิดจากการสร้างทำนบกั้นหุบเนินนั้นไว้ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในบริเวณไม่กว้างขวางนัก สำหรับน้ำกินน้ำใช้หรือปลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ตัวอย่างอ่างเก็บน้ำ เช่น
- อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี
- อ่างเก็บน้ำห้วยซับเหล็ก จังหวัดลพบุรี
- อ่างเก็บน้ำสีทน จังหวัดกาฬสินธุ์
3. เขื่อน เป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ การสร้างเขื่อนทำโดยการสร้างทำนบขนาดใหญ่กั้นขวางลำน้ำสำหรับทดน้ำหรือกักเก็บน้ำ และมีประตูระบายน้ำให้ไหลผ่านออกไปได้โดยไม่ไหลล้นข้ามตัวเขื่อน น้ำที่ได้จากบริเวณหน้าเขื่อนซึ่งมีระดับน้ำสูงมาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการชลประทานหรือใช้พลังงานน้ำในเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เช่น
- เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
- เขื่อนสิริกิต์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
- เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
- เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี